ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บบล็อกของ น.ส.รวิสรา ศรีปัตเนตร ค.บ.4 คณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

         “สวัสดีผู้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกทุกท่านนะคะ บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PC9203เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จัดทำโดย นางสาวรวิสรา ศรีปัตเนตร ค.บ.4 คณิตศาสตร์ หมู่2 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ค่ะ

คำอธิบายรายวิชา

         ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์ในรายวิชา
              เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
        1.อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
        2.อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
        3.ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
        4.อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
        5.อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
        6.บอกความหมายและองค์ประกอบสำคัญๆ ของคอมพิวเตอร์ได้
        7.อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
        8.บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
        9.ความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
        10.บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
        11.อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
        12.อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
        13.ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
        14.สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
        15.นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

เนื้อหาบทเรียน
              หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
              หน่วยการเรียนที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              หน่วยการเรียนที่ 3 คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
              หน่วยการเรียนที่ 4 ซอฟต์แวร์
              หน่วยการเรียนที่ 5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
              หน่วยการเรียนที่ 6 อินเตอร์เน็ต
              หน่วยการเรียนที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
              หน่วยการเรียนที่ 8 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

รูปแบบของกระบวนการเรียนการรู้

   - วิธีสอน เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
   - เนื้อหาบทเรียน เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
   - เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ ความซื่อสัตย์(integrity)

กิจกรรมการเรียนการสอน

   - การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
   - การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
   - การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
   - การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
   - การสรุปเป็นรายงาน
   - การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล
การบูรณาการกับความพอเพียง              

                ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษานั้นจะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังสิ่งต่างๆให้แก่เด็กดังนั้น จึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะเมื่อครูเข้าใจครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอครูจะต้องรู้จักพอก่อนโดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆที่เข้ามารู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่หมั่นศึกษาเพิ่มพูนความรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้นต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอนรู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาจะได้รู้จักและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพและผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
                เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน คือ การทำให้เด็กรู้จักความพอเพียงปลูกฝัง อบรมบ่มเพาะ ให้เด็กมีความสมดุลทางเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมโดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสาระเรียนรู้ต่างๆเพื่อสอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุลตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปันมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยมความเป็นไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆรู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลก การกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สำคัญคือครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งความเป็นองค์รวมนี้จะเกิดขึ้นได้ ครูต้องโดยใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน
                นอกจากนี้ในการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาฯไปใช้ในสถานศึกษาต่างๆ นั้น อาจจะใช้วิธี เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า สำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยเข้าใจว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นแนวคิดที่สามารถเริ่มต้นและปลูกฝังได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน เช่น กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การกำจัดขยะในโรงเรียน การสำรวจทรัพยากรของชุมชน ฯลฯ
การบูรณาการกับการซื่อสัตย์

                ความซื่อสัตย์ เป็นลักษณะที่ช่วยให้เป็นที่ยอมรับนับถือและไว้วางใจ เป็นที่น่าคบหาสมาคมด้วยถ้าขาดความซื่อสัตย์จะเป็นคนไม่น่าคบหาสมาคม เป็นที่ระแวงแคลงใจของเพื่อนและบุคคลใกล้ชิด โดยปกติแล้วผู้ปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์จะมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านส่วนตัว การประกอบอาชีพ สังคม ความซื่อสัตย์จึงหมายถึง การประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่โกงไม่หลอกลวง

ระดับความซื่อสัตย์

1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
                - ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิด
                - หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
                - ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
                - ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
                 - ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
                - ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
                 - ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
                - รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
                - ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
                - ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
                - ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
                - ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
                - ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
                - ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
                - ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
                - แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
                - ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการ         
               ทำงาน
                - นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใครทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

พฤติกรรมที่แสดงว่ามีความซื่อสัตย์ มีดังนี้
                1.ตรงต่อเวลา นัดหมายแล้วมาตามนัดและตรงเวลามาโรงเรียนตรงเวลาไม่มาสาย
                2.ไม่พูดปด พูดความจริงเสมอ
                3.ไม่หน้าไหว้หลังหลอก ต่อหน้าทำอย่างหนึ่งและลับหลังทำอีกอย่างหนึ่ง
                4.ยอมรับผิดเมื่อทำผิด ไม่ใส่ร้ายความผิดให้กับผู้อื่น
                5.จ่ายเงินทุกครั้งเมื่อซื้อสิ่งของขึ้นรถประจำทางหรือโดยสารยานพาหนะอื่นๆหรือใช้บริการอื่นๆที่ต้องเสียเงินค่าบริการ
                6.ไม่หยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนจะใช้สิ่งของผู้อื่นต้องขออนุญาตก่อน
                7.ไม่ลอกการบ้านเพื่อนไม่แอบอ้างผลงานเพื่อนเป็นผลงานตัวเองไม่ลอกคำตอบเพื่อน

กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึก"ความซื่อสัตย์"

                1. นำเสนอตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเคยชินหรือเกิดความสงสัย และสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น
                2. ยกย่องสรรเสริญให้เป็นขวัญและกำลังใจกับผู้ประกอบความดี ประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
                3. แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดีไม่มีอคติเมื่อผู้เรียนที่ประพฤติไม่ถูกต้อง
                4. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง เช่น พูดคุย สัมภาษณ์บุคคลตัวอย่างในท้องถิ่น
                5. ให้เด็กหรือผู้เรียนเรียนรู้ตามตัวอย่างจากสื่อต่าง ๆ เช่น นิทาน ละคร ภาพยนตร์ สารคดี
                6. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนได้วิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันหลาย ๆ ครั้ง ทั้งการวิเคราะห์เป็นกลุ่มและการวิเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเชิงเหตุและผลทั้งด้านดีและไม่ดี และทั้งที่หาข้อยุติหรืออาจยังหาข้อยุติไม่ได้
                7. ให้ได้แสดงเจตนารมณ์เป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมที่จะประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรมจริยธรรม เช่น การมีคติพจน์ประจำใจ การสร้างสัญลักษณ์ของพฤติกรรม ฯลฯ